zigbee | Z-WAVE | Bluetooth | Wi-Fi คืออะไร?แต่ละโพโทคอลแตกต่างกันอย่างไร?

Last updated: 28 ต.ค. 2565  |  1335 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Zigbee Z-wave

Zigbee ได้ชื่อมาจากการเต้นระบำของผึ้งที่ส่งอาหารต่อๆ กันหรือที่เรียกว่าระบำ Zig-zag

Zigbee จะทำงานอยู่บน IEEE802.15.4 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับงาน Wireless sensor network โดยเฉพาะ Zigbee จะเน้นไปที่เรื่องของประหยัดพลังงานและเครือข่ายเชื่อมต่อแบบ Mesh network, Profile และ Security ระหว่างการสื่อสาร ระยะการส่งข้อมูลจะไม่ไกลมาก แต่ขึ้นอยู่กับกำลังส่งของอุปกรณ์ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 100 m ในรุ่นปกติแต่ปัจจุบันก็มีการพัฒนาให้ไปไกลได้ถึงระดับหลายร้อยเมตร จนถึงกิโลเมตร

Z-Wave เป็น Low-power RF ออกแบบมาสำหรับงานทางด้าน Home automation โดยเน้นไปที่อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานมาก การสื่อสารแบบเสถียรภาพ ทำงานอยู่บนคลื่นความถี่ต่ำว่า 1GHz หรือ Sub-GHz เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนกับคลื่นความถี่ 2.4 GHz, ตัวอุปกรณ์ซัพพอร์ต  Mesh network โดยไม่ต้องมี Coordinator โหนดเหมือน Zigbee ตัวโพรโตคอลจะไม่ซับซ้อนเหมือน Zigbee ทำให้การพัฒนาทำได้ง่ายกว่า แต่ฮาร์ดแวร์ถูกจำกัดไว้โดยบริษัทชื่อว่า Sigma designs ถ้าเทียบกับ Zigbee ที่มีหลายผู้ผลิตมากกว่า
ลักษณะการสื่อสารในอดีตเป็นการ pairing ระหว่างอุปกรณ์เพื่อส่งข้อมูล แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มคุณสมบัติที่เรียกว่า Bluetooth Low Energy ( BLE ) ขึ้นมา ทำให้การสื่อสาร ไม่จำเป็นต้อง pairing เพื่อส่งข้อมูลที่เราออกแบบก่อน ทำให้รูปแบบการสื่อสารมีทางเลือกมากขึ้น อุปกรณ์ทั้งใน Smarts Phone หรือ Wearable devices ต่างก็มี Bluetooth และยังออกแบบมาเพื่องานที่เน้นการประหยัดพลังงานอีกด้วย จึงเป็นข้อได้เปรียบอย่างมากในการออกแบบอุปกรณ์ IoT ที่เน้นประหยัดพลังงานและเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อย่าง Smart Phone หรือ PC
เครือข่ายไร้สายรูปแบบหนึ่ง ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 1998 ออกแบบมาเพื่อสร้างเครือข่าย LAN (Local area network) โดยที่ไม่ต้องใช้สาย ส่วนใหญ่เราก็หมายถึงเครือข่าย Wi-Fi ที่สร้างผ่านตัวเราเตอร์ อย่างไรก็ตาม สัญญาณอินเทอร์เน็ต ไม่ได้มาจากเราเตอร์ แต่ว่าถูกปล่อยมาจากโมเด็ม ซึ่งตัวโมเด็มก็จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายไฟเบอร์ออฟติก, สายโทรศัพท์ หรือไม่ก็สัญญาณไร้สายจากเสาโทรศัพท์ เมื่อเราเชื่อมต่ออุปกรณ์ไปยังเครือข่าย Wi-Fi เราจะเชื่อมต่อเข้าไปยังเราเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่าย (เช่น โน๊ตบุ๊ค, สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, สมาร์ททีวี, เครื่องเกมส์ และ ฯลฯ) จะสามารถมองเห็นกันได้ และแบ่งปันรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยกันได้

 


• StandardIEEE 802.15.4ITU 9959 radio
IEEE 802.15.1
IEEE 802.11
a, b, g, n, ac
• RF frequency
868 / 915 MHz
2.4 GHz (ISM)
900 MHz (ISM)
2.4 GHz (ISM)
2.4 GHz, 5 GHz
• Data rate
250 Kbps
9.6 / 40 / 100 Kbps
1 Mbps
600 Mbps* ส่งจริงอยู่ที่
150 - 200 Mbps
• Range
300 m
100 m
10 m
10 - 100 m
• Nodes
65,000
230
8
32
• Topology
Mesh, Star, Tree
Mesh
Star
Star

 

หมายเหตุ * 600 Mbps แต่ส่งจริงอยู่ที่ 150-200 Mbps ขึ้นอยู่กับจำนวนเสารับส่งและช่องสัญญาณ

---------------------------------------------------------


ข้อดี และ ข้อเสีย ของแต่ละโพโทคอล
 

 

 

 

 

 

 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Privacy Policy  และ  นโยบายคุกกี้